หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สภาวลักษณะของจิต







ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ  ท่านผู้สนใจในธรรมทุกท่าน

สภาวะลักษณะของจิต คือ ลักษณะเฉพาะของจิต....สามัญลักษณะของจิต ได้แก่ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจลักษณะ หมายถึงลักษณะที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป นั่นก็เป็นทุกข์...สภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล....ไตรลักษณ์ เป็นลักษณะที่ไม่แยกจากกัน คือจะไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ที่จะเกิดเพียงลักษณะเดียว

สภาวลักษณะของจิต คือลักษณะเฉพาะของจิต มี ๔ ลักษณะ

๑. อรัมมนวิชานนลักขณัง มีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ

๒. ปุพพังคมรสัง คือ มีความเป็นประธาน เพราะต้องเกิดขึ้นทุกขณะ เป็นหัวหน้าเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์คือ เป็นกิจหรือหน้าที่ เช่น จิตที่เกิดทางตา (จักขุวิญญาณ) ทำหน้าที่เห็นสี...จิตที่เกิดทางหู (โสตวิญญาณ) ทำหน้าที่ได้ยิน...จิตเกิดทางจมูก (ฆานวิญญาณ) ทำหน้าที่ได้กลิ่น....จิตเกิดทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณ) ทำหน้าที่ลิ้มรส....จิตเกิดทางกาย (กายวิญญาณ) ทำหน้าที่รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว
จิตเกิดทางหทยวัตถุ (มโนวิญญาณ)....ทำหน้าที่รู้ความคิดนึก

๓. สันตานะปัจจุปัฏฐาน หมายถึง มีการสืบต่อเนื่อง คือ การเกิดดับสืบต่อกันเป็นปัจจุปัฏฐาน คือเป็นอาการปรากฏ

๔. นามรูปปทัฏฐานัง มีนามธรรมและรูปธรรม เป็นปฏัทฐาน คือ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด ที่ว่าจิตมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ

สภาวลักษณะ หมายถึง ลักษณะที่มีอยู่ในตน เช่น ผัสสะ มีลักษณะกระทบอารมณ์, สัญญา มีลักษณะจำอารมณ์, สติ มีลักษณะระลึกรู้อารมณ์, จิตมีลักษณะรู้อารมณ์

ปัจจัตตลักษณะ หมายถึง ลักษณะเฉพาะตน.....สภาวลักษณะทั่วไปที่เป็นปรมัตถ์ ก็จะต้องมีลักษณะเฉพาะของตน

วิเสสะลักษณะ หมายถึง ลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ผัสสะมีลักษณะแตกต่างจากเวทนา  เวทนาก็มีลักษณะแตกต่างจากผัสสะ จิตมีลักษณะแตกต่างกับเจตสิก

สำหรับบทความนี้ หากมีข้อความผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอกราบขอขมาแด่พระรัตนตรัย และขออโหสิกรรมจากท่านผู้อ่านทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านด้วยค่ะ

                                                  
                                                   ..............................