วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554
อริยทรัพย์คืออะไร
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้สนใจในธรรมะทุกท่าน
ท่านสะสมอริยทรัพย์แล้วหรือยัง....ถ้าหากว่ายังไม่ได้สะสมเลย....วันนี้ท่านเป็นผู้โชคดีมาก ๆ ที่จะได้รู้จักกับ "อริยทรัพย์"....ควรศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน แล้วจึงนำไปปฏิบัติ....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า อริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ.....ผู้ใดมีอริยทรัพย์ ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่จน เมื่อสิ้นจากความเป็นมนุษย์แล้ว จะมีที่ไปคือ สุคติภูมิ ย่อมเป็นผู้ไม่ตกไปสู่ที่ลำบาก ไม่ประสบกับความอดอยาก
อริยทรัพย์ ๗ ประการ ได้แก่
๑. ศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้จำแนกธรรมทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
๒. ศีล คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์, เว้นจากการลักทรัพย์, เว้นจากการผิดในกาม, เว้นจากการพูดปด, เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
๓. หิริ คือ เป็นผู้มีความละอายต่อการกระทำทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ความละอายต่อการกระทำอันเป็นอกุศลกรรมทั้งปวง
๔. โอตตัปปะ คือ เป็นผู้มีความสะดุ้งเกรงกลัว ต่อการกระทำทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจ สะดุ้งเกรงกลัวต่อการกระทำ อันเป็นอกุศลกรรมทั้งปวง
๕. สุตะ คือ พหูสูต เป็นผู้ที่ได้สดับ (ฟัง) มาก ทรงไว้ขึ้นใจ สามารถแทงตลอด ด้วยความเข้าใจ ด้วยความเห็นถูกตรง (สัมมาทิฎฐิ) ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมะทั้งหลาย
๖. จาคะ คือ เป็นผู้มีจิตเป็นกุศล ไม่มีความตระหนี่ ยินดีในการสละเพื่อประโยชน์สุข ของผู้อื่นและส่วนรวม
ยินดีในการให้ทานและการจำแนกทานทั้งหลาย
๗. ปัญญา คือ เป็นผู้มีความเข้าใจตามความจริงของรูปธรรมนามธรรม กำหนดรู้การเกิดดับของรูปธรรมนามธรรมตามความเป็นจริง จนสามารถประหารกิเลสเป็นสมุจเฉท บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล
อริยทรัพย์ ๗ ประการนี้ มีแก่บุคคลใด.... บุคคลนั้นได้ชื่อว่า "เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตไม่ไร้ประโยชน์" ดังนั้นปุถุชนผู้หวังสุคติภูมิ หรือบรรลุพระธรรมขั้นอริยบุคคล.....จึงควรน้อมนำพระธรรมอัน ได้แก่ "อริยทรัพย์ ๗ ประการ" นี้ มาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์สุขในโลกนี้และโลกหน้าเถิด
หากข้อความใดผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอกราบขอขมาแด่พระรัตนตรัย และขออโหสิกรรมจากท่านผู้อ่านทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย.......ขออนุโมทนาบุญกับผู้อ่านทุกท่าน
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ขันติและขันติบารมี
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้มีขันติทุกท่าน
ในชีวิตประจำของคนเรานี้....ถ้าขาดขันติเมื่อใด รับรองได้ว่าหาความสุขมิได้เลย....ขันติหรือความอดทนก็มีตั้งแต่ขั้น ขันติธรรมดาและขันติบารมี อันเป็นคุณธรรมที่สำคัญประการหนึ่ง ที่จะทำให้ถึงฝั่งพระนิพพาน
แต่ละท่านมีการสะสมอุปนิสัยมาไม่เหมือนกัน จึงมีการกระทำ ทางกาย ทางวาจาซึ่งแสดงออกมาแตกต่างกันไป ในทางกุศลบ้าง และในทางอกุศลบ้าง อันเป็นเหตุให้พอใจหรือไม่พอใจแก่บุคคลอื่นได้....ขันติเท่านั้นที่จะช่วยให้เรา อยู่ในสังคมร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ขันติ....หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะกระทบกับสิ่งอันเป็นที่ปรารถนา หรือสิ่งอันไม่เป็นที่ปรารถนา.....ขันติ หมายถึง ความอดทนและหนักแน่น....ลักษณะของความอดทนอดกลั้นก็คือ อดทนต่อการกระทำความดี....อดทนต่อการไม่กระทำความชั่ว.....อดทนต่อการรักษาจิตไม่ให้เศร้าหมอง....อดทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น อากาศร้อน อากาศหนาวและฝน....อดทนต่อความทุกข์กาย เช่น การเจ็บป่วย ปวด เมื่อย.....อดทนต่อความทุกข์ทางใจ.....อดทนอดกลั้นต่อความโกรธ.....อดทนอดกลั้นต่อความไม่พอใจ......และอดทนอดกลั้นต่อกิเลสทั้งหลาย
ขันติ....เป็นตบะอย่างยิ่ง คืออดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ที่มากระทบ.....ขันติ เป็นคุณธรรมฝ่ายกุศล....ขันติ เป็นเสมือนอาวุธ ไม่เบียดเบียนคนอื่นให้เดือดร้อน......ขันติ เป็นเสมือนสายน้ำกำจัดไฟคือความโกรธ.....ขันติ เป็นเสมือนบันไดสู่เทวโลกและพรหมโลก...ขันติ เป็นบานประตูปิดอบายภูมิ
ขันติบารมี.....คือ ความอดทนอดกลั้น เป็นโสภณธรรม (ธรรมฝ่ายดี) ควรอบรมด้วยความเข้าใจตามความเป็นจริงของสภาพธรรมะที่ปรากฏขณะนี้...เพราะเหตุว่ามี "ปัญญา" จึงมีความอดทนต่ออารมณ์ที่มากระทบ
เช่น อดทนต่อคำดูหมิ่นเหยียดหยามจากบุคคลอื่น...ผู้มีปัญญาย่อมอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์และการกระทำที่ไม่ดีของผู้อื่น....ผู้มีปัญญาย่อมไม่โกรธตอบผู้อื่น อันเป็นปัจจัยทำให้ "ขันติบารมี" เจริญยิ่งขึ้น....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสรรเสริญ "ขันติ" เป็นคุณธรรมอย่างยิ่ง...ขอทุกท่านจงเป็นผู้เจริญขันติบารมียิ่ง ๆ ขึ้นนะคะ
หากข้อความใดผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอกราบขอขมาแด่พระรัตนตรัยและขออโหสิกรรมจากท่านผู้อ่านทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย....ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
สวัสดีค่ะ ท่านผู้มีขันติทุกท่าน
ในชีวิตประจำของคนเรานี้....ถ้าขาดขันติเมื่อใด รับรองได้ว่าหาความสุขมิได้เลย....ขันติหรือความอดทนก็มีตั้งแต่ขั้น ขันติธรรมดาและขันติบารมี อันเป็นคุณธรรมที่สำคัญประการหนึ่ง ที่จะทำให้ถึงฝั่งพระนิพพาน
แต่ละท่านมีการสะสมอุปนิสัยมาไม่เหมือนกัน จึงมีการกระทำ ทางกาย ทางวาจาซึ่งแสดงออกมาแตกต่างกันไป ในทางกุศลบ้าง และในทางอกุศลบ้าง อันเป็นเหตุให้พอใจหรือไม่พอใจแก่บุคคลอื่นได้....ขันติเท่านั้นที่จะช่วยให้เรา อยู่ในสังคมร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ขันติ....หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะกระทบกับสิ่งอันเป็นที่ปรารถนา หรือสิ่งอันไม่เป็นที่ปรารถนา.....ขันติ หมายถึง ความอดทนและหนักแน่น....ลักษณะของความอดทนอดกลั้นก็คือ อดทนต่อการกระทำความดี....อดทนต่อการไม่กระทำความชั่ว.....อดทนต่อการรักษาจิตไม่ให้เศร้าหมอง....อดทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น อากาศร้อน อากาศหนาวและฝน....อดทนต่อความทุกข์กาย เช่น การเจ็บป่วย ปวด เมื่อย.....อดทนต่อความทุกข์ทางใจ.....อดทนอดกลั้นต่อความโกรธ.....อดทนอดกลั้นต่อความไม่พอใจ......และอดทนอดกลั้นต่อกิเลสทั้งหลาย
ขันติ....เป็นตบะอย่างยิ่ง คืออดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ที่มากระทบ.....ขันติ เป็นคุณธรรมฝ่ายกุศล....ขันติ เป็นเสมือนอาวุธ ไม่เบียดเบียนคนอื่นให้เดือดร้อน......ขันติ เป็นเสมือนสายน้ำกำจัดไฟคือความโกรธ.....ขันติ เป็นเสมือนบันไดสู่เทวโลกและพรหมโลก...ขันติ เป็นบานประตูปิดอบายภูมิ
ขันติบารมี.....คือ ความอดทนอดกลั้น เป็นโสภณธรรม (ธรรมฝ่ายดี) ควรอบรมด้วยความเข้าใจตามความเป็นจริงของสภาพธรรมะที่ปรากฏขณะนี้...เพราะเหตุว่ามี "ปัญญา" จึงมีความอดทนต่ออารมณ์ที่มากระทบ
เช่น อดทนต่อคำดูหมิ่นเหยียดหยามจากบุคคลอื่น...ผู้มีปัญญาย่อมอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์และการกระทำที่ไม่ดีของผู้อื่น....ผู้มีปัญญาย่อมไม่โกรธตอบผู้อื่น อันเป็นปัจจัยทำให้ "ขันติบารมี" เจริญยิ่งขึ้น....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสรรเสริญ "ขันติ" เป็นคุณธรรมอย่างยิ่ง...ขอทุกท่านจงเป็นผู้เจริญขันติบารมียิ่ง ๆ ขึ้นนะคะ
หากข้อความใดผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอกราบขอขมาแด่พระรัตนตรัยและขออโหสิกรรมจากท่านผู้อ่านทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย....ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เมตตาและเมตตาบารมี
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้มีเมตตาจิตทุกท่าน
ขณะนี้ท่านกำลังโกรธใครอยู่หรือปล่าวคะ....ผู้ใดไม่โกรธตอบผู้โกรธอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า "ชนะสงคราม".....ผู้ใดโกรธตอบผู้โกรธอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า "มีจิตลามก" พุทธพจน์
ขณะใดที่โกรธ (โทสะ) ขณะนั้นไม่มีเมตตา...."เมตตา" คือ ความไม่โกรธ (อโทสะ) ที่มีต่อผู้อื่น ความเป็นมิตร เป็นเพื่อน มีไมตรี หวังดี ปรารถนาดี คิดที่จะช่วยเหลือ เกื้อกูล อุปถัมภ์ เอ็นดู ไม่เบียดเบียนทำร้าย ให้ประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นเพื่อนที่ดีต่อทุกคน ไม่จำกัดและแบ่งแยก ซึ่งเป็นลักษณะของ "เพื่อนแท้" เป็นสภาพธรรมะชนิดหนึ่ง...เราจะสังเกตได้ว่า เมื่อใดที่เรามีความปรารถดีและหวังดีต่อผู้อื่น เมื่อนั้นมีสภาพธรรมะชนิดหนึ่งเกิดขึ้นทำหน้าที่ "หวังดีปรารถนาดี"
เมตตาบารมี...คำว่า "บารมี" คือ การสร้างกุศล (ความดี) เพื่อขัดเกลาอกุศลธรรม ซึ่งตามปกติเราไม่รู้ตัวเอง ว่ายังเป็นผู้มีอกุศลจิตมากแค่ไหน เช่น โลภะ (ความยินดี พอใจ ติดข้อง ต้องการ ยึดถือ)...โทสะ (โกรธ ขัดเตืองใจ หยาบกระด้าง ขุ่นมัว)...มานะ (ความสำคัญตน)....อิสสา (ความริษยา)....มัจฉริยะ (ความตระหนี่)....อกุศลเหล่านี้ จะลดลงเบาลง คลายลง ก็ต่อเมื่อเราได้อบรมเจริญเมตตา ให้เกิดขึ้นมีขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีกำลังถึงขั้นเป็น "เมตตาบารมี"....เป็นความหวังดี ปรารถนาดีช่วยเหลือ เกื้อกูล ไม่เลือกและแบ่งแยกบุคคล ชาติกำเนิด ฐานะ และไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ
จะอบรมเจริญเมตตาบารมีได้อย่างไร...การอบรมเจริญเมตตาบารมีนั้น จะต้องเริ่มจากคนใกล้ ๆ ตัวเราก่อน เช่น บิดามารดา ญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เพื่อนสนิท คนอื่น คนแปลกหน้า ต้องทำได้กับทุกคน จึงจะเป็นเมตตาบารมี...ขณะมีเมตตาต้องไม่มีความสำคัญตน (มานะ)....ต้องไม่ขุ่นเคืองใจ เพราะเหตุว่า เมตตาเป็นเครื่องมือบำบัดความอาฆาตพยาบาท....เมตตาต้องเป็นไปเพื่อการเกื้อกูล...ต้องไม่ประกอบด้วย "โลภะ" (ความติดข้อง) และไม่หวังผลตอบแทน....ทำได้เสมอเหมือน "มารดาทำกับบุตร"
เมตตาอบรมเจริญให้มีได้ ด้วยความเข้าใจถูกต้อง...ด้วยสติขั้นต้น ตามระลึกรู้ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อยู่เรื่อย ๆ.....ค่อย ๆ อบรมให้มีมากขึ้น จนเป็นเมตตาท่ี่มั่นคง จนเป็น "เมตตาบารมี" .....พิจารณาเนื่อง ๆ ขณะที่กำลัง "กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด" เป็นกุศลหรืออกุศล ....ขณะกำลัง "พูด" เป็นกุศลหรืออกุศล...พิจารณาเนื่อง ๆ ขณะที่กำลัง "คิด" เป็นไปในกุศลหรืออกุศล....ขณะที่กำลัง "โกรธ" ให้พิจารณาเห็นโทษของ "โทสะ" ว่ากำลังทำร้ายผู้โกรธอยู่....เมตตายังศีลให้สมบูรณ์ด้วย เพราะเหตุว่าประกอบด้วยความจริงใจ
เมื่อเมตตาเกิดก็ระลึกรู้ว่าเป็นเพียง "สภาพธรรมะ" หรือ "นามธรรม" ชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย ไม่ใช่ "เรา" ...เมตตาเกิดขึ้นเองไม่ได้ เพราะว่าเป็นธรรมะ...ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา...ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด...ขอทุกท่านจงเป็นผู้เปี่ยมด้วย "เมตตาบารมี"เถิด...ไว้พบกันอีกในบทความต่อไปจ๊ะ
หากมีข้อความใดผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอกราบขอขมาแด่พระรัตนตรัย และขออโหสิกรรมจากท่านผู้อ่านทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย....ขอนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554
กุศลกับอกุศล
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้สนใจในพระธรรมทุกท่าน
ชีวิตคนเรานี้แสนสั้นมากเพียงแค่ขณะจิตเดียวเท่านั้น เพราะเหตุว่าจิตเกิดดับสืบต่อทุกขณะ รวดเร็วมาก...โลกที่สว่างก็มีเพียงน้อยนิด คือโลกทางตา เราสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ซึ่งเกิดที่ตา....ส่วนทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย นั้นเป็นโลกที่มืดสนิท.....แต่โลกทางใจไม่มืดสนิทมีความพิเศษคือ สามารถเห็นได้เหมือนเห็นจริง ๆ เรียกว่า "เห็นด้วยจิต" ตัวอย่างเช่น รูปที่มาปรากฏให้ตาเห็น ดับไปตั้งนานแล้ว แต่ทางใจ..จิตยังนึกเห็นรูปนั้นเหมือนกับว่ารูปนั้นยังคงอยู่ เสียงที่ปรากฏให้หูได้ยิน ดับไปตั้งนานแล้ว แต่ทางใจ จิตยังคงเหมือนได้ยินเสียงนั้นอยู่ ทางทวารอื่น ๆ ก็นัยเดียวกัน
การปรากฏของรูปธรรม อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ติง ไหว) และนามธรรม ได้แก่ จิตเจตสิก ทางทวารทั้ง ๖ นี้... เป็นธรรมะเป็นธรรมชาติที่มีความไม่เที่ยง (อนิจจัง)...เพราะความไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ (ทุกขัง)....ธรรมะไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับบัญชาของใคร (อนัตตา)....ลักษณะธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ เรียกว่า พระไตรลักษณ์...ทุกชีวิตตกอยู่ภายใต้ของกฎแห่งธรรมชาติหรือกฏไตรลักษณ์....ยกเว้นพระอรหันต์ท่านอยู่เหนือกฎธรรมชาตินี้ เพราะเหตุว่าท่านได้ประหารอนุสัยกิเลสจนเป็นสมุจเฉทแล้ว สิ้นภพชาติแล้ว
ชีวิตในแต่ละวันเป็นไป กับความเพลิดเพลินยินดีพอใจติดข้องใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เมื่อสติไม่ตามระลึกรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏ เมื่อนั้นอกุศลจิตเกิด...เป็นความทุกข์ก็ดับไปเป็นธรรมดา เมื่อใดมีสติ เมื่อนั้นจิตเป็นกุศลจิตเป็นสุข
อกุศลเป็นเหมือน "ศัตรู" ก็หมายถึงอกุศลจิตของเรานั่นเอง...เราควรระวังไม่ให้อกุศลจิตเกิดขึ้น ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่ากุศลจิตและอกุศลจิตแตกต่างกันอย่างไร ถ้าไม่เข้าใจในพระธรรมก็อาจทำให้เราหลง ไปยึดเอาศัตรูมาเป็นมิตรได้ คือหลงยินดีพอใจชื่นชมกับศัตรู ก็หมายถึง "โลภะ" ความยินดีพอใจติดข้องต้องการ อยากได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่รู้จักพอ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่นำความสุขมาให้ แท้จริงแล้ว "โลภะ" เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งปวง
ทำไมจิตจึงมีทั้งกุศลจิตและอกุศลจิต....การที่จิตบางครั้งเป็นกุศลจิตและบางครั้งเป็นอกุศลจิตนั้น....เพราะเหตุว่ามีธรรมะประเภทหนึ่งชื่อว่า "เจตสิก" เป็นนามธรรมที่เกิดกับจิต ดับกับจิต ประกอบกับจิตไม่แยกจากจิตเลย รู้อารมณ์เดียวกับจิต..... เป็นธรรมะปรุงแต่งจิต (สังขารธรรม)ให้เป็นไปในทางกุศลและอกุศล....เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง (รายละเอียดไว้คราวต่อไป)
เรื่องกุศลและอกุศลนี้เป็นธรรมะที่ควรศึกษาเพื่อน้อมมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะได้ไม่หลงชื่นชมยินดียึดเอา "ศัตรู" (อกุศล) มาเป็นมิตรอีกต่อไปนะคะ
หากข้อความใดผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอกราบขอขมาแด่พระรัตนตรัย และขอโหสิกรรมจากท่านผู้อ่านทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ.....ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน
วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554
จิตคืออะไร
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้สนใจในพระธรรมทุกท่าน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ เป็นประธาน ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ" ใจกับจิตมีความหมายเดียวกัน คือเป็น สภาพรู้ ธาตุรู้ รู้ความจริงในโลก ได้แก่ โลกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ...เป็นสภาพธรรมทีรู้สี รู้เสียง รู้กลิ่น รู้รส รู้การกระทบสัมผัส เย็นร้อน อ่อน แข็ง ติง ไหว และรู้ความคิดนึก....สภาพธรรมหรือนามรู้ที่ เรียกว่า จิต
จิต นี้เกิดดับตลอดเวลาตั้งแต่เราเกิดจนตาย แต่เราไม่เคยรู้ลักษณะของจิตเลย เพราะเหตุว่า จิตเกิดดับรวดเร็วมาก จะสามารถรู้การเกิดดับของจิตได้นั้น ก็ด้วยนามธรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเจตสิก มีชื่อว่า "สติ" ทำหน้าที่ระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ....ไม่ใช่ "เรา" เป็นผู้รู้ แต่เป็นสติระลึกรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏในแต่ละขณะ
จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ต่าง ๆ...เมื่อจิตเกิดขึ้นจะต้องมีอารมณ์ให้จิตรู้....อารมณ์คือสิ่งที่มาให้จิตรู้ หรือสภาพธรรมที่ปรากฏให้จิตรู้...หรืออีกความหมายหนึ่งคือ "อารมณ์เป็นอาหารของจิต" ....จิตเสวยอารมณ์ที่น่ายินดีพอใจ (โลภะ) และเสวยอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีพอใจ (โทสะ)...เป็นเหตุปัจจัย
ให้เกิดความสุขทางใจ (โสมนัส) บ้าง และเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ (โทมนัส) บ้าง
จิตมีทั้งหมด ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง (พิเศษ) จิตแบ่งออกเป็นหลายดวงเพราะเหตุว่า มีหน้าที่แตกต่างกัน
และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น
จิตเกิดทางตา....ทำหน้าที่เห็น เรียกว่า จักขุวิญญาณ
จิตเกิดทางหู....ทำหน้าที่ได้ยินเรียกว่า โสตวิญญาณ
จิตเกิดทางจมูก....ทำหน้าที่ได้กลิ่น เรียกว่า ฆานวิญญาณ
จิตเกิดทางลิ้น....ทำหน้าที่รู้รส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
จิตเกิดทางกาย....ทำหน้าที่รู้กระทบสัมผัส เรียกว่า กายวิญญาณ
จิตเกิดทางใจ....ทำหน้าที่รู้ความคิดนึก เรียกว่า มโนวิญญาณ
จิตเกิดขึ้นต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เกิดดับพร้อมกันและรู้อารมณ์เดียวกัน....เจตสิกมีหลายประเภทจึงทำให้จิตเป็นไปในกุศลและอกุศลตามแต่เหตุปัจจัย
สำหรับความรู้เกี่ยวกับเรื่องจิตอย่างย่อ ๆ เป็นการสะสมความเข้าใจเพื่อเป็นปัจจัยในการเจริญปัญญาในขั้นต่อ ๆ ไป
หากมีข้อความใดผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอกราบขอขมาแด่พระรัตนตรัยและขออโหสิกรรมจากท่านผู้อ่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย...ขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้อ่านด้วยค่ะ
วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วิริยะและวิริยะบารมี
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้สนใจในพระธรรม
ท่านเคยทราบไหมว่า...ตนเองมีความเพียรในสิ่งใดบ้าง...เพียรในกุศลหรือเพียรในอกุศล ส่วนใหญ่แล้วในชีวิตประจำวัน เราจะเพียรในอกุศลธรรม เพราะเหตุว่า "สติ" ไม่เกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฎตามความเป็นจริง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ว่าไม่ใช่เรา... ..กูศลก็มีหลายระดับ คือกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาและกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง "วิริยะ" หมายถึงความเพียร ความขยัน มีลักษณะสภาพธรรมคือเป็น "เจตสิก" หมายถึงนามธรรมชนิดหนึ่งเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต วิริยะ... เกิดขึ้นทำหน้าที่เพียร ๆ ที่จะให้กุศุลเกิดขึ้น...ไม่ใช่เราอยากที่ทำความเพียร วิริยะเจตสิกเป็นธรรมะ เป็นอนัตตาบังคับให้เกิดไม่ได้...เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิดจึงเกิด ขณะเพียรระวัง...ขณะที่สภาพธรรมเกิดปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ เช่น ขณะที่มีสีปรากฏทางตา..."จิตเห็น" เกิดขึ้น สติระลึกรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา..เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นให้จิตรู้...เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย... เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ในขณะนั้นก็จะมีวิริยะเจตสิกเกิดร่วมกับจิตด้วย ทำหน้าที่เพียรระลึก...จะเห็นได้ว่า วิริยะเป็นสภาพธรรมที่ทำหน้าที่เพียรอุปถัมภ์ ประคองและค้ำจุนธรรมะทั้งงหลาย ทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล ถ้าหากว่า "สติ" ไม่เกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรม ที่ปรากฏขณะนั้น อกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จิตก็จะมีลักษณะเศร้าหมองไม่ผ่องใสเป็นทุกข์
วิริยะหมายถึงความเพียร หรือมีชื่อว่า "อินทรีย์" เพราะเหตุว่าครองความเป็นใหญ่ในความขยัน ในความเพียร เป็น "วิริยินทรีย์" เป็นธรรมะที่อุปถัมภ์ค้ำจุนและประคองไว้ซึ่ง "กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป" และ "วิริยะ" มีลักษณะที่เป็นความอุสาหะนั้น อุปถัมภ์ร่วมกับธรรมะทั้งหลาย...ความเพียรที่ตั้งไว้โดยชอบ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จกิจทั้งปวง
วิริยะบารมี หมายถึง ความเพียรในการสะสมความดีที่เป็นบารมี คือจะต้องเป็นไปในกุศลของผู้มีปัญญา ที่ต้องการจะออกจากกองทุกข์ทั้งปวง...ต้องการที่จะหลุดพ้นจากวัฎฎะ ไม่ใช่เป็นความเพียรธรรมดาทั่ว ๆไป...ถ้าจะให้เป็นวิริยะขั้น "บารมี" ก็จะต้องประกอบด้วย "ปัญญา" คือ ปัญญาเห็นโทษของกิเลส เห็นโทษของการเวียนว่ายอยู่สังสารวัฎฎ์...เพียรเจริญกุศลเพื่อเป็นไปในการดับภพชาติ...วิริยะเป็นคุณธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญคุณธรรมหนึ่ง...ขอทุกท่านจงเป็นผู้มีความเพียร ที่เป็นไปเพื่อกุศลธรรมทั้งปวงเถิด
หากมีข้อความใดผิดพลาดประการใด อันเกิดจากความด้อยปัญญาของผู้เขียน ก็ขอกราบขอขมาแด่พระรัตนตรัยและขออโหสิกรรม จากท่านผู้อ่านทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี่ด้วย....ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สติสัมปชัญญะเกิดได้อย่างไร
ขอนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้ใฝ่ในธรรมะทุกท่าน
ชีวิตคนเรานี้แสนสั้นมาก... อดีตก็ผ่านไปแล้ว ไม่หวนกลับคืนมาอีก เราไม่ควรที่จะตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยความอาลัย...อนาคตก็ยังมาไม่ถึง จึงไม่ควรนึกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง....สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ ขณะนี้เดี๋ยวนี้ มีโลกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ กำลังปรากฏอยู่...เรารู้ตามความเป็นจริงและรู้ชัดในสิ่งที่ปรากฏแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่รู้ก็ควรที่จะเริ่มศึกษาให้เข้าใจ เพื่อละ "ความไม่รู้" (อวิชชา)
สติ คือนามธรรมชนิดหนึ่ง เป็นเจตสิก เป็นโสภณธรรม (ธรรมฝ่ายดีงาม) เกิดกับกุศลจิต...สติทำหน้าที่ระลึกรูู้ "รูปธรรม" และ "นามธรรม" ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ตามปกติ... "สติ" จะเกิดกับสภาพธรรมที่เป็นกุศลเท่านั้น เมื่อใดที่สติระลึกรู้ตามความเป็นจริงของ สภาพธรรมที่ปรากฏ ขณะนั้นจิตเป็นกุศล...สติเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ทุกสถานที่ ไม่มีกาลเวลาจำกัด สติเกิดขึ้นระลึกรู้เป็นปกติ แต่เราไม่เคยรู้จักสติเลย เพราะเหตุว่าวันหนึ่ง ๆ จิตสะสมแต่อกุศลธรรม สติจึงไม่เกิด
ตามปกติในชีวิตประจำวัน ทุกคนก็มีสติระลึกในสิ่งที่ตนกระทำ ในคำที่พูด การระลึกรู้อย่างนี้ใคร ๆ ก็ รู้ได้ แต่ก็ยังไม่ใช่สติที่ระลึกรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏขณะนี้ สติที่ระลึกรู้ถูกต้อง รู้ตรงตามความเป็นจริงของ "นามและรูป" นี้เรียกว่า "สัมมาสติ"
สัมมาสติ...เป็นเครื่องกั้นกระแสกิเลสทั้งหลาย ขณะที่สติเกิด...อกุศลธรรมทั้งหลายจะเกิดกับจิตไม่ได้ เพราะเหตุว่า "จิต" เกิดได้ทีละขณะเท่านั้น เมื่อใดที่สติระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ขณะนี้ตามความเป็นจริงว่า "เป็นเพียงสิ่งที่มาปรากฏให้จิตรู้เพราะมีเหตุปัจจัย" แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่เรา การรู้เช่นนี้เรียกว่า "สติสัมปชัญญะ"
สติมีหลายระดับ เช่น สติในขั้นทาน (ระลึกในการให้ทาน)...สติในขั้นรักษาศีล (ระลึกในการงดเว้นการกระทำทุจริต)...สติขั้นเจริญความสงบของจิต (ระลึกที่จะมีเมตตาต่อบุคคลอื่น)...สติขั้นเจริญอบรมปัญญา (ระลึกรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ปราฏขณะนี้ ว่าไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ไม่ใช่เรา)
สติจะเกิดได้อย่างไร...สติเกิดได้ด้วยการฟังธรรมจากสัตบุรุษ ศึกษาธรรม และสนทนาธรรมตามกาล เพื่อเป็นการสะสมความเข้าใจเป็นสติปัญญาในขั้นฟัง และเพื่อเป็นปัจจัยในเกิดสติสัมปชัญญะตามระดับขั้น จนถึงในขั้นวิปัสสนา
ท่านผู้ใดต้องการที่จะศึกษาให้ละเอียดและเข้าใจมากกว่านี้ ก็ควรเริ่มขนขวายด้วยการฟังธรรมะอยู่เนื่อง ๆ
จนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเป็นปัญญาของตน....ขอท่านผู้อ่าน จงเป็นผู้เจริญในพระธรรมทุกท่านนะคะ
หากข้อความใดมีความผิดพลาดประการใด อันเกิดจากความด้อยปัญญาของผู้เขียน ก็ขอกราบขอขมาต่อพระรัตนตรัย และขออโหสิกรรมจากท่านผู้สนใจในธรรมะทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ภาระจริง ๆ ของชีวิต คืออะไร
ขอนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้ศรัทธาในธรรมะทุกท่าน
ทุกท่านก็มีภาระหน้าที่การงานในชีวิตแตกต่างกันไป แล้วแต่เหตุปัจจัย... ภาระ ที่แบกกันอยู่ทุกวันนี้ก็ยังไม่ใช่ภาระจริง ๆ ของชีวิต ท่านทราบมั้ยค่ะ..ว่า "ภาระจริง ๆ ของชีวิตคืออะไร" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า "ภารา หเว ปัญจักขันธา" แปลว่า ขันธ์ ๕ เป็นภาระหนัก "ภารหาโร จ ปุคคโล" แปลว่า ใครถือไปเป็นทุกข์
ภาระ ก็คืออุปาทานขันธ์ ๕ ยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็น "ตัวเรา"...ได้แก่ รูปูปาทานขันธ์ เวทะนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ทั้งหมดนี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น... ขันธ์ ๕ คือสภาพธรรม เป็นนามธรรมและรูปธรรมที่มีจริง เกิดดับตลอดเวลา ไม่เที่ยง เพราะความไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นอนัตตา
เราเป็นผู้แบก "ภาระ" เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง ชีวิตในแต่ละวันไม่พ้นไปจากขันธ์ ๕ เช่น ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส รู้สิ่งที่มากระทบสัมผัส และนึกคิด กุศลและอกุศล เหล่านี้เป็นขันธ์ทั้งหมด ถ้า "สติ"
ไม่เกิดขึ้น ระลึกรู้สิ่งที่มีจริงที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ ตามความเป็นจริงขณะนั้นจิตเป็น "อกุศลจิต" เพราะเหตุว่า อวิชชาคือความไม่รู้(โมหะ) เป็นเหตุปัจจัย จึงยึดถือด้วยความติดข้อง (โลภะ) ว่าเป็น "เรา" เมื่อมี "เรา" ก็จะต้องมีทุกข์เสมอ เพราะขันธ์ ๕ เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง
ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้
ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ทั้งหมดนี้เป็นที่ยึดถือของ "ตัณหา" ภาระขันธ์ ๕ ..เราต้้องบริหารขันธ์ให้ถูกต้อง เพื่อความเป็นไปแห่งการดับทุกข์ ต้องบริหารร่างกายและรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักอนามัย การเดิน การยืน การนั่ง การนอน อิริยาบถน้อยใหญ่ต่าง ๆ ก็ต้องอยู่ในความสำรวม นี่ก็ล้วนแต่เป็นภาระในชีวิตประจำวัน จิตหรือนามธรรมสภาพรู้ธาตุรู้ ก็เช่นกัน ก็จะต้องมีการฟังธรรม ศึกษาธรรม การอบรมเจริญกุศลเนื่อง ๆ เพื่อสะสมความเข้าใจ เพื่อละความเห็นผิด เป็นปัญญาให้เกิดขึ้นมีขึ้น
นี่แหละคือภาระจริง ๆ ของชีวิตในชีวิตประจำวันท่ี่ควรทราบ ควรศึกษาให้เข้าใจในสิ่งที่มีจริง ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ตามความเป็นจริง สรุปแล้วขันธ์ ๕ ก็คือ ธรรมะ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ การศึกษาธรรมะทำให้เรารู้จักตัวเราตามความเป็นจริง ท่านผู้อ่านก็คงจะพอเข้าใจแล้วนะคะว่า ภาระของท่านจริง ๆ คืออะไร
สำหรับบทความนี้ ฉันคิดว่าคงจะเป็นประโยชน์พอสมควร สำหรับท่านผู้สนใจธรรมะทุกท่านนะคะ
หากว่ามีข้อความใดขาดตกบกพร่อง ด้วยความด้อยปัญญาของผู้เขียน ก็ขอกราบขอขมาต่อพระรัตนตรัยและขออโหสิกรรมจากท่านผู้อ่านทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้ศรัทธาในธรรมะทุกท่าน
ทุกท่านก็มีภาระหน้าที่การงานในชีวิตแตกต่างกันไป แล้วแต่เหตุปัจจัย... ภาระ ที่แบกกันอยู่ทุกวันนี้ก็ยังไม่ใช่ภาระจริง ๆ ของชีวิต ท่านทราบมั้ยค่ะ..ว่า "ภาระจริง ๆ ของชีวิตคืออะไร" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า "ภารา หเว ปัญจักขันธา" แปลว่า ขันธ์ ๕ เป็นภาระหนัก "ภารหาโร จ ปุคคโล" แปลว่า ใครถือไปเป็นทุกข์
ภาระ ก็คืออุปาทานขันธ์ ๕ ยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็น "ตัวเรา"...ได้แก่ รูปูปาทานขันธ์ เวทะนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ทั้งหมดนี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น... ขันธ์ ๕ คือสภาพธรรม เป็นนามธรรมและรูปธรรมที่มีจริง เกิดดับตลอดเวลา ไม่เที่ยง เพราะความไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นอนัตตา
เราเป็นผู้แบก "ภาระ" เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง ชีวิตในแต่ละวันไม่พ้นไปจากขันธ์ ๕ เช่น ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส รู้สิ่งที่มากระทบสัมผัส และนึกคิด กุศลและอกุศล เหล่านี้เป็นขันธ์ทั้งหมด ถ้า "สติ"
ไม่เกิดขึ้น ระลึกรู้สิ่งที่มีจริงที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ ตามความเป็นจริงขณะนั้นจิตเป็น "อกุศลจิต" เพราะเหตุว่า อวิชชาคือความไม่รู้(โมหะ) เป็นเหตุปัจจัย จึงยึดถือด้วยความติดข้อง (โลภะ) ว่าเป็น "เรา" เมื่อมี "เรา" ก็จะต้องมีทุกข์เสมอ เพราะขันธ์ ๕ เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง
ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้
ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ทั้งหมดนี้เป็นที่ยึดถือของ "ตัณหา" ภาระขันธ์ ๕ ..เราต้้องบริหารขันธ์ให้ถูกต้อง เพื่อความเป็นไปแห่งการดับทุกข์ ต้องบริหารร่างกายและรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักอนามัย การเดิน การยืน การนั่ง การนอน อิริยาบถน้อยใหญ่ต่าง ๆ ก็ต้องอยู่ในความสำรวม นี่ก็ล้วนแต่เป็นภาระในชีวิตประจำวัน จิตหรือนามธรรมสภาพรู้ธาตุรู้ ก็เช่นกัน ก็จะต้องมีการฟังธรรม ศึกษาธรรม การอบรมเจริญกุศลเนื่อง ๆ เพื่อสะสมความเข้าใจ เพื่อละความเห็นผิด เป็นปัญญาให้เกิดขึ้นมีขึ้น
นี่แหละคือภาระจริง ๆ ของชีวิตในชีวิตประจำวันท่ี่ควรทราบ ควรศึกษาให้เข้าใจในสิ่งที่มีจริง ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ตามความเป็นจริง สรุปแล้วขันธ์ ๕ ก็คือ ธรรมะ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ การศึกษาธรรมะทำให้เรารู้จักตัวเราตามความเป็นจริง ท่านผู้อ่านก็คงจะพอเข้าใจแล้วนะคะว่า ภาระของท่านจริง ๆ คืออะไร
สำหรับบทความนี้ ฉันคิดว่าคงจะเป็นประโยชน์พอสมควร สำหรับท่านผู้สนใจธรรมะทุกท่านนะคะ
หากว่ามีข้อความใดขาดตกบกพร่อง ด้วยความด้อยปัญญาของผู้เขียน ก็ขอกราบขอขมาต่อพระรัตนตรัยและขออโหสิกรรมจากท่านผู้อ่านทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วย
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เรื่อง "ศรัทธา"
ขอนอมน้อมต่อพระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้มีความศรัทธาในธรรมะทุกท่าน
วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "ศรัทธา" กันนะคะ...ตลอดชีวิตของเรานี้ ก็คืือธรรมะทั้งหมด เราไม่ต้องไปแสวงหาธรรมะที่ไหนเลย "ธรรมะ" ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ ซึ่งสามารถรู้ได้ตามความเป็นจริงในขณะนี้ แต่เราไม่สามารถรู้และบอกได้ตามความเป็นจริง เพราะเหตุว่ายังมี "ความไม่รู้" (อวิชชา) ห่อหุ้มจิตอยู่ ดังนั้นก็ต้องอาศัย การฟังพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงความจริงของธรรมะ เพื่อให้ฟังจนเกิด "ความศรัทธา" รู้จักคุณค่า รู้ประโยชน์ของการฟัง และการเข้าใจพระธรรม อันเป็นเหตุปัจจัยให้สามารถเห็นพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
"ศรัทธา" เป็นนามธรรม เป็นโสภณธรรม (ธรรมะฝ่ายดี) เป็น "เจตสิก" เกิดร่วมกับจิตดับพร้อมกับจิตและมีอารมณ์เดียวกับจิต ศรัทธา...คือความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย กรรม ผลของกรรม (วิบากกรรม)
ความเชื่อในพระธรรม ในกุศล (ความดี) ซึ่งปรุงแต่งจิตเจตสิก ให้ผ่องใสสะอาด ศรัทธา...ข่มนิวรณ์ (เครื่องกั้นการทำความดี) ระงับกิเลสได้และทำจิตให้ผ่องใสสะอาด
ตัวอย่างของศรัทธา เช่น ขณะมีการให้ทานแก่บุคคลอื่น จะเป็นบิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท หรือบุคคลแปลกหน้าก็ตาม ขณะนั้นผู้ให้มีจิตไม่คิดอกุศลต่อผู้รับ เห็นแก่ประโยชน์สุขของผู้รับ ไม่เห็นแก่ตัวและไม่่ติดข้องเสียดายของที่ให้ มีเมตตา กรุณาต่อผู้รับ ขณะนั้นจิตมี "ศรัทธาเจตสิก" เกิดร่วมด้วย จิตจึงมีสภาพผ่องใสสะอาด
"ศรัทธา" จะเจริญขึ้นได้ จนเป็นศรัทธาระดับเป็นใหญ่เป็นอินทรีย์ ซึ่งเรียกว่า "สัทธินทรีย์" นั้น ต้องรู้ลักษณะธรรมตามความเป็นจริง เพราะมีการกระทบสัมผัสตลอดทั้งวัน ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ มีความเห็นถูกตรงตามความเป็นจริง ว่าสิ่งทั้งหลายที่มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ขณะนั้นจิตผ่องใสจากความไม่รู้ ศรัทธา...มีตั้งแต่ระดับขั้นทาน จนถึงขั้นสูงสุด จิตผ่องใสอย่างยิ่ง เป็น "โลกุตตรศรัทธา" คือไม่มีความสงสัยในคุณพระรัตนตรัย จนถึงความหมดสิ้นสังสารวัฎฎ์
ศรัทธา...เป็นเพื่อนสอง ขณะมีการฟังธรรม ขณะนั้นศรัทธาเจตสิกเกิดร่วมกับจิต เป็นเหตุปัจจัยให้จิตมีสภาพผ่องใสสะอาด เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็ด้วยศรัทธา เพราะเป็นผลของ "กามาวจรกุศล" หรือเรียกอีกอย่างว่า "มหากุศล" คือกุศลที่เกิดจากการกระทำ ที่เป็นไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่ว่าศรัทธาเป็นเพื่อนสอง เพราะเหตุว่าเกิดร่วมกับจิต ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศล ขณะใดศรัทธาไม่เกิด ขณะนั้น "โลภะ" ก็จะเป็นเพื่อนสองแทน มาคอยกระซิบให้ทำอกุศล ทำให้จิตเศร้าหมองเป็นทุกข์ ส่วน "ศรัทธา" จะเกิดขณะไหนนั้น เราไม่สามารถทราบได้ เพราะเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งและละเอียด
ฉะนั้นเราจึงควรหมั่นฟังพระธรรม เพื่อสะสมความเข้าใจและเพื่อละความไม่รู้ หลงยึดติดข้องในธรรมะทั้งหลายว่าเป็น "เรา" เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล ที่ทุกข์อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะเหตุว่ามี "เรา" เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า " ขันธ์ ๕" เป็นทุกข์ ยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเราก็เลยต้องทุกข์...สำหรับบทความวันนี้ก็จบไว้แค่นี้ก่อน แล้วพบกันอีกในวันต่อไปจ๊ะ
หากมีข้อความใดผิดพลาดประการใด อันเกิดจากความด้อยปัญญาของผู้เขียน ขอกราบขอขมาต่อพระรัตนตรัย และขออโหสิกรรมจากท่านผู้อ่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ธรรมะกับชีวิต
ขอนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้ใฝ่ในธรรมะทุกท่าน
วันนี้ท่านได้สำรวจตนเองบ้างมั้ยคะ...ว่าสภาพจิตของท่านตลอดทั้งวันเป็นอย่างไรบ้าง เคยสังเกตดูบ้างมั้ยค่ะ ตั้งแต่เช้าตื่นมา จิตใจเป็นอย่างไร พอตื่นลืมตาก็ได้ยินเสียงชาวบ้านข้าง ๆ บ้านทะเลาะกันดัง จะรู้สึกเป็นไงบ้างคะ..ก็คงจะไม่พอใจขัดใจหรือไม่สบายใจแน่นอน "เสียง" เป็นเพียงรูปธรรม เพราะไม่รู้อะไรเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด แล้วก็ดับเป็นธรรมดา เสียงไม่สามารถทำให้จิตเศร้าหมองได้ ที่เรารู้สึกไม่พอใจขัดใจ และจิตเศร้าหมองนั้น เพราะเหตุว่ามีนามธรรมชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลและอกุศล นามธรรมชนิดนี้เรียกว่า "เจตสิก"
จิต เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งในอารมณ์ต่าง ๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ ไม่ได้รู้อะไรมากไปกว่านี้ ความรู้สึกขัดใจไม่พอใจนั้นเป็น"โทสมูลจิต" เป็นสภาพธรรมฝ่าย "อกุศล" ถ้าเราได้ยินเสียงเพลงไพเราะในตอนเช้าตื่นมา เราก็จะรู้สึกสบาายใจพอใจ ถึงแม้จะได้ฟังเพียงนิดหน่อยก็ยังมีความชื่นชอบยินดี นี่ก็เป็นสภาพธรรมฝ่าย "อกุศล" เช่นกันนะ ความยินดีพอใจติดข้องต้องการนี้เป็น "โลภมูลจิต" เป็นกิเลสที่นำเราให้เวียนว่ายตายเกิด อยู่ในสังสารวัฎมาหลายภพชาตินับไม่ถ้วนแล้ว และยังจะต้องเวียนว่ายต่อไปอีก ถ้าไม่สะสมปัญญาในชาตินี้ จะเห็นว่าแม้กุศลก็เกิดยากมากเพราะเหตุว่าเป็นเรื่องของนามธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก
ถ้าเป็นกรณีที่ตื่นมาก็ได้ยิน เสียงธรรมะบรรยายจากวิทยุ จิตใจก็ผ่องใสแช่มชื่น ขณะนั้นจิตเป็น "กุศล" เพราะเหตุว่ามี "สติเจตสิก" เกิดร่วมกับจิตในขณะนั้น ขณะใดที่สติเกิดขณะนั้นจิตเป็น "กุศลจิต"
จะเห็นได้ว่า...ชีวิตคนเราวัน ๆ จิตเป็นไปในอกุศลซะส่วนมาก เพราะว่าการที่จิตจะเป็น "กุศลจิต" ได้นั้น
จะต้องประกอบด้วย "สติ" ซึ่งเป็น "ธรรมะฝ่ายกุศล" หรือเรียกอีกชื่อว่า "โสภณธรรม" อยู่ดี ๆ สติจะเกิดเองไม่ได้เลย ถ้าไม่เคยได้ฟังพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน เพราะเหตุว่า สติมีหลายขั้นหรือหลายระดับ
การที่จะสติจะเกิดได้นั้น จะต้องเป็นไปในขั้นทาน ขั้นรักษาศีล ขั้นเจริญความสงบของจิต และขั้นเจริญปัญญา ดังนั้นจึงต้องมีการฟังพระธรรม เป็นการสะสมความเข้าใจเพื่อละ "ความไม่รู้" (โมหะ) ซึ่งเป็นสติขั้นการฟังก่อน จนกว่ามีความเข้าใจมากขึ้น ๆ อบรมให้มีขึ้น เจริญขึ้น จนเป็นสติในขั้นสูงขึ้นตามลำดับ
ท่านทราบมั้ยว่า..สติระลึกรู้อะไร...สติระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็น "นามธรรม" บ้าง และระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็น "รูปธรรม" บ้าง การที่สติจะเกิดขึ้นและระลึกได้ถูกต้องเป็น "สัมมาสติ" นั้น ต้องฟังพระธรรม แล้วหมั่นระลึกรู้สภาพธรรมขณะนี้เดี๋ยวนี้ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ให้จิตรู้ได้ ไม่ใช่ไปรู้อย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากนี้
สำหรับวันนี้..ก็ได้เขียนมาพอสมควรแล้ว เดี๋ยวท่านจะเบื่อกันซะก่อน... อย่าเพิ่งเบื่อนะคะ "การได้พบพระธรรมเป็นลาภอันประเสริฐ" ควรหรือที่จะเบื่อในการศึกษา
หากมีข้อความใดขาดตกหรือผิดพลาดประการใด อันเกิดจากความด้อยปัญญาของผู้เขียนเอง ก็ขอกราบขอขมาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยเจ้า และครูบาอาจารย์ทุกท่าน และขออโหสิกรรมด้วยเมตตาจิตจากท่านผู้อ่านทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
สวัสดีค่ะ ท่านผู้ใฝ่ในธรรมะทุกท่าน
วันนี้ท่านได้สำรวจตนเองบ้างมั้ยคะ...ว่าสภาพจิตของท่านตลอดทั้งวันเป็นอย่างไรบ้าง เคยสังเกตดูบ้างมั้ยค่ะ ตั้งแต่เช้าตื่นมา จิตใจเป็นอย่างไร พอตื่นลืมตาก็ได้ยินเสียงชาวบ้านข้าง ๆ บ้านทะเลาะกันดัง จะรู้สึกเป็นไงบ้างคะ..ก็คงจะไม่พอใจขัดใจหรือไม่สบายใจแน่นอน "เสียง" เป็นเพียงรูปธรรม เพราะไม่รู้อะไรเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด แล้วก็ดับเป็นธรรมดา เสียงไม่สามารถทำให้จิตเศร้าหมองได้ ที่เรารู้สึกไม่พอใจขัดใจ และจิตเศร้าหมองนั้น เพราะเหตุว่ามีนามธรรมชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลและอกุศล นามธรรมชนิดนี้เรียกว่า "เจตสิก"
จิต เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งในอารมณ์ต่าง ๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ ไม่ได้รู้อะไรมากไปกว่านี้ ความรู้สึกขัดใจไม่พอใจนั้นเป็น"โทสมูลจิต" เป็นสภาพธรรมฝ่าย "อกุศล" ถ้าเราได้ยินเสียงเพลงไพเราะในตอนเช้าตื่นมา เราก็จะรู้สึกสบาายใจพอใจ ถึงแม้จะได้ฟังเพียงนิดหน่อยก็ยังมีความชื่นชอบยินดี นี่ก็เป็นสภาพธรรมฝ่าย "อกุศล" เช่นกันนะ ความยินดีพอใจติดข้องต้องการนี้เป็น "โลภมูลจิต" เป็นกิเลสที่นำเราให้เวียนว่ายตายเกิด อยู่ในสังสารวัฎมาหลายภพชาตินับไม่ถ้วนแล้ว และยังจะต้องเวียนว่ายต่อไปอีก ถ้าไม่สะสมปัญญาในชาตินี้ จะเห็นว่าแม้กุศลก็เกิดยากมากเพราะเหตุว่าเป็นเรื่องของนามธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก
ถ้าเป็นกรณีที่ตื่นมาก็ได้ยิน เสียงธรรมะบรรยายจากวิทยุ จิตใจก็ผ่องใสแช่มชื่น ขณะนั้นจิตเป็น "กุศล" เพราะเหตุว่ามี "สติเจตสิก" เกิดร่วมกับจิตในขณะนั้น ขณะใดที่สติเกิดขณะนั้นจิตเป็น "กุศลจิต"
จะเห็นได้ว่า...ชีวิตคนเราวัน ๆ จิตเป็นไปในอกุศลซะส่วนมาก เพราะว่าการที่จิตจะเป็น "กุศลจิต" ได้นั้น
จะต้องประกอบด้วย "สติ" ซึ่งเป็น "ธรรมะฝ่ายกุศล" หรือเรียกอีกชื่อว่า "โสภณธรรม" อยู่ดี ๆ สติจะเกิดเองไม่ได้เลย ถ้าไม่เคยได้ฟังพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน เพราะเหตุว่า สติมีหลายขั้นหรือหลายระดับ
การที่จะสติจะเกิดได้นั้น จะต้องเป็นไปในขั้นทาน ขั้นรักษาศีล ขั้นเจริญความสงบของจิต และขั้นเจริญปัญญา ดังนั้นจึงต้องมีการฟังพระธรรม เป็นการสะสมความเข้าใจเพื่อละ "ความไม่รู้" (โมหะ) ซึ่งเป็นสติขั้นการฟังก่อน จนกว่ามีความเข้าใจมากขึ้น ๆ อบรมให้มีขึ้น เจริญขึ้น จนเป็นสติในขั้นสูงขึ้นตามลำดับ
ท่านทราบมั้ยว่า..สติระลึกรู้อะไร...สติระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็น "นามธรรม" บ้าง และระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็น "รูปธรรม" บ้าง การที่สติจะเกิดขึ้นและระลึกได้ถูกต้องเป็น "สัมมาสติ" นั้น ต้องฟังพระธรรม แล้วหมั่นระลึกรู้สภาพธรรมขณะนี้เดี๋ยวนี้ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ให้จิตรู้ได้ ไม่ใช่ไปรู้อย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากนี้
สำหรับวันนี้..ก็ได้เขียนมาพอสมควรแล้ว เดี๋ยวท่านจะเบื่อกันซะก่อน... อย่าเพิ่งเบื่อนะคะ "การได้พบพระธรรมเป็นลาภอันประเสริฐ" ควรหรือที่จะเบื่อในการศึกษา
หากมีข้อความใดขาดตกหรือผิดพลาดประการใด อันเกิดจากความด้อยปัญญาของผู้เขียนเอง ก็ขอกราบขอขมาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยเจ้า และครูบาอาจารย์ทุกท่าน และขออโหสิกรรมด้วยเมตตาจิตจากท่านผู้อ่านทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ธรรมะกับชีวิตประจำวัน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สวัสดีค่ะ ท่านผู้สนใจในธรรมทุกท่าน
วันนี้พบกันที่เว็บไซด์ "ธรรมะประจำวัน" เป็นครั้งแรก ท่านผู้อ่านมีเรื่องจะสนทนาด้วยกัน...ก็ขอเชิญด้วยความยินดีค่ะ
ท่านทราบไหมค่ะว่า ชีวิตคืออะไร..เรามีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ ใช้ชีวิตหมดไปแต่ละวันกับความไม่รู้ซะมากกว่า ว่าชีวิตนั้นคืออะไร บางท่านอาจจะตอบว่า "ชีวิตก็คือ งาน เงิน เกียรติยศ ชื่่อเสียง ทรัพย์สมบัติ" บ้างก็ว่า ชีวิตคือ "กิน กาม เกียรติ" หรือบางท่านก็บอกว่า "อะไรก็ได้ ขอให้มีเงินใช้ มีอาหารกิน มีที่อยู่อาศัยและมีความสุขก็ คือ ชีวิต" จะตอบอย่างไรก็แล้วแต่ความคิดของแต่ละท่าน ถูกทั้งหมดนั่นแหละ...เพราะเหตุว่าทุกอย่างเป็น "ธรรมะ" เป็นนามธรรมและความคิดของแต่ละท่านก็เป็นธรรมะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "สัพเพธัมมา สังขารา" แปลว่า สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นธรรมะ
ธรรมะคืออะไร...ธรรมะ คือ คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงสอนอะไร...ท่านทรงสอนสิ่งที่มีจริง ซึ่งเราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเองเดี๋ยวนี้ขณะนี้ ความจริงที่ท่านนำมาสอนเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามที่พระองค์ได้ตรัสรู้ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ เรื่องสี เสียง กลิ่น รส กระทบสัมผัสทางกาย (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว) และความนึกคิด ทั้งหมดนี้คือ "โลกทั้ง ๖"
ในชีวิตประจำวัน เรามีความเกี่ยวข้องกับธรรมะหรือโลกทั้ง ๖ ทุกขณะจิต คือ มีโลกทางตา โลกทางหู โลกทางจมูก โลกทางลิ้น โลกทางกายและโลกทางใจ ไม่มีใครที่มีมากหรือน้อยไปกว่านี้ ทางตาก็เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏ ทางหูรู้เสียงต่าง ๆ ที่มาปรากฏ ทางจมูกรู้กลิ่นต่าง ๆ ที่มาปรากฏ ทางลิ้นรู้รสต่าง ๆ ที่มาปรากฏ ทางกายกระทบสัมผัสรู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว และทางใจรู้ความนึกคิดที่มาปรากฏ นี่คือ ความจริงที่รู้ได้ในขณะนี้
สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล แต่เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "จิต" หรือ "วิญญาณ" ทำหน้าที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง รู้ว่าเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่มาปรากฏ และสิ่งต่าง ๆ ที่มาปรากฏให้จิตรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจนั้น เรียกว่า "อารมณ์" เมื่อจิตเกิดขึ้นจะต้องมีอารมณ์ให้จิตรู้เสมอ อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้เรียกว่า "รูปธรรม" เป็นสภาพธรรมะที่ไม่รู้อะไรเลย
เมื่อได้เข้าใจเรื่องโลกทั้ง ๖ แล้ว..ว่ามีอะไรบ้าง และเรื่องจิตกับสิ่งที่มาให้จิตรู้ ซึ่งสรุปเรียกว่า "รูปธรรม" กับ "นามธรรม" เป็นของจริงแท้ที่มีให้รู้ได้ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ เราอยู่กับโลกแต่ไม่เคยรู้จักโลกเลย ก็คือไม่เคยรู้จัก "พระธรรม" ก็หมายถึงว่ายังอยู่ในความมืดอยู่ ยังไม่มีที่พึ่งที่มั่นคงปลอดภัยสำหรับชีวิต เมื่อเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแต่ไม่รู้เรื่อง "พระธรรม" เลย...ก็น่าเสียดายเวลาของความเป็นมนุษย์ในชาตินี้ เพราะเหตุว่าการเกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก
สำหรับวันนี้ก็จะขอยุติไว้เพียงแค่นี้ก่อน...ไว้ติดตามตอนต่อไปนะคะ....หากมีข้อความใดผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอกราบขอขมาแด่พระรัตนตรัย และอโหสิกรรมจากท่านผู้อ่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย และขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)